top of page
about.jpg

เทคนิคนำเกมเพื่อการเรียนรู้

6 (ควรรู้)
สำหรับผู้นำเกม เพื่อการเรียนรู้

รู้จักเกม

ในบทบาทของผู้นำเกม คุณควรที่จะทำความคุ้นเคยกับเกมก่อนพาให้ผู้อื่นเล่น เพื่อประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยม เราไม่แนะนำให้คุณวางกล่องเกมให้กลุ่มเป้าหมายเล่นเองตั้งแต่การเล่นครั้งแรก เนื่องจากคุณคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของการนำเกมไปใช้ที่สำคัญที่สุด

รู้จักตัวเอง

ผ่อนคลายสบายๆ เราไม่แนะนำให้คุณพยายามที่จะนำเกมได้เหมือนอย่างใครๆ แต่เราส่งเสริม ให้คุณนำเกมแบบที่เป็นตัวเอง เพราะหากคุณเครียด คนเล่นเกมก็จะเครียด หากคุณสนุก คนเล่นเกมก็จะสนุก

รู้จักสร้างพื้นที่ปลอดภัย

เกมเปรียบเสมือนโลกจำลอง ที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ คุณสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างง่ายๆ เพียงปรับแนวคิดของผู้นำเกมก่อนการเล่นเกม “ในพื้นที่การเล่นนี้ ไม่มีผิดไม่มีถูก” กล้าก็ได้ กลัวก็ได้ ไม่แน่ใจก็ได้ ตัดสินใจถูกก็ได้ ตัดสินใจพลาดก็ไม่เป็นไร

รู้ตัว มีสติ

แน่นอนว่าสำหรับคุณครู วิทยากร หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ อาจจะไม่คุ้นชินกับกระบวนการ การเรียนรู้เช่นนี้ จึงจำเป็นต้องมีสติ รู้ตัว อยู่เสมอ ที่จะไม่ตัดสิน ไม่ใช้ความเป็นผู้ให้ครอบครองพื้นที่การเรียนรู้ หรือขโมยประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เล่น

รู้จักปล่อยวาง

ให้ผู้เล่นได้เรียนรู้สิ่งที่อยากรู้ผ่านการเล่นเกม ไม่มุ่งแต่สิ่งที่เราอยากจะบอก ไม่เร่งเร้า การเรียนรู้ หรือคาดหวังว่า ผู้เล่นจะได้สิ่งที่เรียนรู้กลับไปเหมือน ๆ กัน “เมื่อปล่อยวาง จึงเริ่มมองเห็น”

รู้จักถอดบทเรียน

สำหรับเด็ก หรือผู้ที่ขาดประสบการณ์ชีวิต การถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในใจไม่ใช่เรื่องที่ง่าย สำหรับพวกเขา แม้พวกเขาได้เรียนรู้ แต่ระหว่างการเล่นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย สิ่งที่ได้เรียนรู้หลากหลาย คุณสามารถเป็นผู้ช่วยเหลือที่ยอดเยี่ยม ค่อยๆ พาถอดบทเรียน คุณค่าจากการเล่นก็จะแจ่มชัดมากขึ้น

pattren 2_edited_edited.jpg

สามเหลี่ยมการเรียนรู้

กับบทบาทผู้นำเกม

triangle.png

Lecture Level

เกมทุกเกมต้องมีกติกาในการเล่น และในแต่ละกลุ่มการเล่น มักจะมีผู้นำเกมเป็นผู้ที่อธิบายวิธีการเล่นเสมอ ผู้เล่นจะได้เรียนรู้ในการเป็นผู้ฟังการบรรยายที่ดี และได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะการเรียนรู้จาก การฟังบรรยาย ฟังคำอธิบายวิธีการเล่น เพื่อนำไปต่อยอดประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ดีในห้องเรียน (สำหรับผู้สอนอาจจะใช้เกมเป็นเครื่องมือในการทำความรู้จักรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เล่นแต่ละคนเพื่อนำไปสร้างประสบการณ์การเรียน รู้ที่ยอดเยี่ยมในห้องเรียนได้)

Reading Level

ผู้เล่นจำเป็นต้องสังเกตการ์ดและอุปกรณ์ในการเล่นเกมด้วยตัวเอง หลังจากทราบวิธีการเล่นคร่าวๆ จึงส่งเสริมทักษะการอ่าน กระตุ้นความสงสัยใคร่รู้ และสร้างนิสัยในการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง รวมไปถึงทักษะการตั้งคำถาม และการค้นหาทางออกอีกด้วย

Audio – Visual Level

เกมเป็นเพียงสื่อกลางในการเรียนรู้ เป็นพื้นที่การเล่นผู้นำเกมที่สามารถใช้เกมเพื่อสร้างภาพและเสียงเพื่อดึงดูดผู้เล่นได้ จะมีโอกาสที่ผู้เล่นจะมีสมาธิจดจ่อกับการเล่นเกม และติดตามเนื้อหาการเรียนรู้ได้ไปจนถึงตอนจบ และบทสรุปท้ายเกม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาทองแห่งการเรียนรู้ (The Golden Time of Learning Moment) เพราะ ณ ช่วงเวลาที่ผู้เล่นจดจ่อกับการเล่น ผู้เล่นก็จะซึมซับประสบการณ์ที่ได้รับ จากการเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพและจดจำได้ยาวนานกว่า (สำหรับผู้นำเกม การเรียนรู้ผ่านการเล่นไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป การเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็เรียกว่าการเรียนรู้ ดังคำของ วิลเลียม เชกสเปียร์ที่กล่าวว่า “กุหลาบไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร ก็ยังคงความหอม ยังคงเป็นกุหลาบ”

Demonstration Level

การได้เห็นตัวอย่าง ได้ดูการตัดสินใจของผู้เล่นคนอื่นที่ร่วมเล่นด้วยกัน ได้เห็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์จำลองด้วยตัวเองในพื้นที่ปลอดภัยที่ไม่มีความเสี่ยงในชีวิตจริง สำเร็จได้ พลาดได้ ไม่แน่ใจได้ เป็นเสน่ห์อันน่าหลงใหลจากการใช้เกม

Group Discussion Level

เกมและผู้นำเกมที่สร้างพื้นที่ปลอดภัยได้สำเร็จ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เล่นมีพื้นที่ในการหารือ การหาแนวทางร่วมกัน รวมถึงระหว่าง เล่นเกมผู้เล่นอาจจะต้องใช้ทักษะโน้มน้าวจูงใจผู้เล่นคนอื่น เจรจา หรือหาข้อสรุป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อสถานการณ์ในเกม (สำหรับผู้นำเกม นับเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่สำคัญ คือการชวนผู้เล่นถอดบทเรียนจากการเรียนรู้ระหว่างการเล่นผู้เล่นได้พบ ประสบการณ์ต่างๆ มากมาย มีประเด็นค้นพบ เรียนรู้ระหว่างทาง การช่วยให้ผู้เล่นได้มี “ช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย แต่ไม่สบายเกินไป” หลังจากการเล่น ช่วยกระตุ้นสมอง ส่วนหน้าให้ทำงาน เราแนะนำให้คุณถอดบทเรียนหลังการเล่นเสมอหากมีโอกาส)

Practice Level

ความสนุกนำมาซึ่งกระบวนการเรียนรู้ซ้ำ  ลงมือทำซ้ำ    ผู้เล่นจะเริ่มคุ้นเคยกับระบบการเล่น และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่น และการถอดบทเรียน มาประยุกต์ใช้ในทันทีผ่านการเล่นเกมอีกครั้ง ให้เกิดความคุ้นชินใหม่ หรือเห็นความ แตกต่างของการเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

Teaching Other Level

พร้อมจะเป็น Alpha หรือจ่าฝูง ผู้เล่นที่พร้อมจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้อธิบายเกม ในบทบาท Game Master นำพาผู้อื่นให้ได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ยอดเยี่ยมดังเช่นที่เคยได้รับมา (สำหรับผู้นำเกม คุณคือ Role Model ที่สำคัญ ที่อยู่ตรงหน้าของพวกเขา)

about.jpg

Flow ที่ดี
เมื่อใช้เกมเพื่อการเรียนรู้

เปิดด้วยสิ่งดีดี

ชวนผู้เล่นทำ  Emotion Label หรือติด Tag อารมณ์ก่อนเริ่มเล่นเกม เป็นการ Warm up ลดกำแพง เปิดใจในการเรียนรู้ ก่อนอธิบายวิธีการเล่นอย่างกระชับ สั้นๆ ง่ายๆ ตามสไตล์ของคุณเอง

เล่นด้วยใจที่ฟูฟ่อง

ดังคำกล่าวที่ว่า “ตัวเรามีสิ่งใด เราก็ให้สิ่งนั้นต่อผู้อื่น” หากคุณมีจิตใจที่เมตตา อ่อนโยน เต็ม ไปด้วยความปรารถนาที่ดี ระหว่างการเล่นเกม บรรยากาศของเกม ก็จะเป็นไปตามสิ่งที่อยู่ในตัวตนของคุณ

เรียนรู้ต่อเนื่อง
ด้วยชุดคำถามง่ายๆ

ที่จะช่วยใหการนำเกมครั้งถัดไปของคุณยอดเยี่ยมยิ่งขึ้นไปอีก หาเวลาสัก 2 - 3 นาทีทบทวน ชุดคำถามนี้ก้บตัวคุณเอง 3S (Start, Stop, Stay)

Start เพื่อให้การนำเกมครั้งถัดไปของฉันยอดเยี่ยม ฉันจะต้องเริ่ม .................

Stop เพื่อให้การนำเกมครั้งถัดไปของฉันยอดเยี่ยม ฉันจะต้องหยุด (ลด ละ เลิก) ................................

 

Stay เพื่อให้การนำเกมครั้งถัดไปของฉันยอดเยี่ยม ฉันทำ ...................... ได้ดีอยู่แล้ว เก็บไว้ทำต่อๆ ไป

START

STOP

STAY

ปิดด้วยบรรยากาศที่ดี
และมุมมองในการนำไปใช้

หลังจากที่ผู้เล่นได้สำรวจจักรวาลของเกม เรียนรู้โลกจำลอง ผู้เล่นจะได้พบประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ผ่านการเล่น ผู้เล่นยังไม่ได้มีเวลาที่มากพอในการกลั่นกรอง หรือ ตกผลึกสิ่งที่เรียนรู้ที่ผ่านมา การได้รับคำถามดีๆ กระตุ้นความคิด จะช่วยให้ผู้เล่นสามารถมองเห็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเพิ่มบทสนทนาเกี่ยวกับมุมมองของการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง จะเพิ่มโอกาสในการลงมือทำได้มากขึ้น และพวกเขาจะมีความผูกพันกับสิ่งที่พวกเขาคิดขึ้นมาได้ สิ่งที่พวกเขาค้นพบด้วยตนเอง

bottom of page